ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือ

  • Print
User Rating: / 8
PoorBest 


การจัดหมวดหมู่หนังสือ ของ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

หมวดหมู่หนังสือระบบ LC (Library of Congress Classification)

        การจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันนี้เรียกย่อ ๆ  ว่าระบบ  L.C.  ผู้คิดคือ  ดร.เฮอร์เบิร์ต พุทนัม  (Herbert Putnum)     คิดขึ้นในปี ค.ศ. 1899  ขณะที่ทำหน้าที่เป็นบรรณารักษ์หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน          ซึ่งปัจจุบันเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก   ตั้งอยู่    ณ กรุงวอชิงตัน   สหรัฐอเมริกา   การจัดแบ่งหมวดหมู่หนังสือมิได้อิงหลักปรัชญาใด ๆ มิได้เรียงลำดับวิทยาการ  แต่กำหนดหมวดหมู่ตามหนังสือสาขาต่าง ๆ  ที่มีอยู่ในหอสมุดแห่งนั้น โดยแบ่งเป็น  20  หมวดใหญ่ใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่  A – Z ยกเว้น I Q W X Y   ผสมกับตัวเลขอารบิค   ตั้งแต่เลข  1-9999    และอาจเพิ่มจุดทศนิยมกับตัวเลขได้อีกหมวดใหญ่ทั้ง   20  หมวด   มีดังนี้ 

1.  A   ความรู้ทั่วไป ( General  works )

2.  B    ปรัชญา  จิตวิทยา  ศาสนา ( Philosophy,  Psychology,  Religion )

3.  C    ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ( Auxiliary  Sciences  of  History )

4.  D   ประวัติศาสตร์ยุโรป  ( History – Europe )

5.  E-F            ประวัติศาสตร์อเมริกา  ( History – America )

6.  G   ภูมิศาสตร์  โบราณคดี  นันทนาการ  ( Geography  Anthropology  Recreation )

7.  H   สังคมศาสตร์  ( Social  Sciences )

8.  J     รัฐศาสตร์  ( Political  Sciences )

9.  K    กฎหมาย  ( Law)

10. L   การศึกษา  ( Education )

11. M ดนตรี  ( Music )

12. N  วิจิตรศิลป์  ( Fine  Arts )

13. P   ภาษาและวรรณคดี  ( Philology  and  Literature )

14. Q  วิทยาศาสตร์ ( Science )

15. R  แพทย์ศาสตร์ ( Medicine )

16. S   เกษตรศาสตร์ ( Agriculture )

17. T   เทคโนโลยี ( Technology )

18. U  ยุทธศาสตร์ ( Military  Science )

19. V  นาวิกศาสตร์ ( Naval science )

20. Z  บรรณานุกรม และบรรณารักษศาสตร์ ( Bibliography  Library  Science )